วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบ สังคมความรุ้

ข้อสอบเรื่อง สังคมความรู้
1. สังคมความรู้ในยุคที่ 1 เกี่ยวข้องกับข้อใด
/ก. พลังวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ข. พลังเทคโนโลยี และสารสนเทศ
ค. พลังภูมิปัญญาชาวบ้าน
ง. พลังเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร
2. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของความรู้
ก. ความรู้เฉพาะกรณี
ข. ความรู้ที่พิสูจน์แล้วตามหลักวิทยาศาสตร์
/ค. ความรู้ส่วนบุคคล
ง. ความรู้จากการกระทำ
3. ข้อใดเรียงวัฏจักรความรู้ได้ถูกต้อง
ก. สร้างสรรค์ -> สะสม -> ถ่ายโอน -> ประยุกต์
ข. ประยุกต์-> สร้างสรรค์ -> สะสม -> ถ่ายโอน
ค. สร้างสรรค์ -> ถ่ายโอน -> สะสม -> ประยุกต์
/ง. สะสม -> ถ่ายโอน -> สร้างสรรค์ -> ประยุกต์
4. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประโยชน์ของสังคมความรู้
ก. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา
/ข. พัฒนาสังคมให้เข้าสู่สังคมอุดมปัญญา
ค. เปลี่ยนวัฒนธรรมจาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง ไปสู่ วัฒนธรรมในแนวราบ
ง. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสังคม
5. การจัดการสังคมความรู้ (Knowledge Management) แบ่งเป็นกี่ประเภท
ก.3 ข.4 /ค.5 ง.7

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

ความหมายของความรู้

สังคมความรู้







สังคมความรู้
ความหมายของสังคมความรู้
หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้บุคคลหรือสมาชิกในชุมชน/สังคมเกิดการเรียนรู้โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ องค์ความรู้ต่าง ๆ จนสามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะ มีระบบการจัดการความรู้และระบบการเรียนรู้ที่ดี มีการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนในสังคม ทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์ และใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการเลือกและตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างเหมาะสมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ยุคของสังคมความรู้
สังคมความรู้แบ่งเป็น 2 ยุค ดังนี้
สังคมความรู้ยุคที่ 1 เป็นสังคมความรู้ที่มีพลังและอำนาจอยู่ด้วยกัน เกิดการผลิต (Productivity) มีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) กลไกตลาด (Market Mechanism) และความอยู่รอด (Survival of the Fittest) นักวิชาการ/นักวิชาชีพ มีบทบาทหลักในการจัดการความรู้ ใช้พลังของความรู้ มีความเป็นมืออาชีพการจัดการความรู้ หรือการพัฒนาความรู้ (Knowledge Management) แบ่งเป็น
1. Knowledge Access คือ การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การเข้าถึงความรู้ทาง Internet หรือ ICT Connectivity ต่าง ๆ ต้องประกอบไปด้วยความสามารถในการเข้าถึงความรู้ ความใฝ่รู้ เวลาในการหาความรู้ และการทำความรู้ให้ใช้ได้ง่าย
2. Knowledge Validation คือ การประเมินความถูกต้องของความรู้ ความรู้มีทั้งของจริงและของหลอก ดังนั้น จึงต้องมีการประเมินความถูกต้องของความรู้ การวิจัยเป็นเครื่องมือที่จะบอกว่าความรู้นั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องตามกระบวนการน่าจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง ความรู้ต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา งานวิจัยที่ดีจะต้องเป็นผลงานวิจัยหลาย ๆ งานวิจัยที่ได้ผลตรงกันถึงจะเชื่อถือได้ เรียกว่า Systematic Review หรือ Meta Analysis ซึ่งสังเคราะห์ข้อมูลมาจากหลาย ๆ แหล่ง
3. Knowledge Valuation คือ การตีค่า/การตีความรู้ ใช้ความรู้นั้นแล้วคุ้มค่าหรือไม่ ความรู้ที่มีหลักฐานถูกต้องตามหลักวิชาการแต่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เนื่องจาก
- ไม่คุ้มค่า ราคาแพงเกินกว่าผลประโยชน์
- ใช้สำหรับสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือฟุ่มเฟือย
- ปฏิบัติจริงได้ยาก ขาดสิ่งจำเป็น
- ขัดกับความคิด ความเชื่อ หรือวัฒนธรรม
- ไม่สร้างความยุติธรรม และศักดิ์ศรีมนุษย์
4. Knowledge Optimization คือ การทำความรู้ให้ง่ายที่จะใช้ การนำความรู้ออกมาเป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ต้องมีพื้นฐานมาจากความรู้ เช่น การทำคู่มือต่าง ๆ
5. Knowledge Dissemination คือ การกระจายความรู้ ปัจจุบันความรู้เป็นสมบัติสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อยู่ที่ความสามารถของแต่ละคนที่จะเข้าถึงความรู้ ฉะนั้นต้องเปลี่ยนจากการที่ครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เป็นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ และทำให้เกิด Public Information หรือ Public Education ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การวิจัยหรือความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างพลังที่นำไปสู่ Empowerment จากเดิมความรู้ที่เป็นของนักวิชาการกลายเป็นความรู้เป็นของสาธารณะ ความรู้ไม่ได้มีไว้ใช้เพียงอย่างเดียว แต่ความรู้นำมาสร้างเป็นพลังได้ Edutainment เป็นการศึกษาที่มีวิธีการเรียนการสอนที่สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ มีความเพลิดเพลิน และการศึกษาเป็นของสนุก Knowledge Brokering (นายหน้าความรู้) ความรู้เป็นสินค้าที่ต้องมีกระบวน การจัดการ นักวิชาการเป็นเพียง Knowledge Broker ทำความรู้ให้เกิดประโยชน์ขึ้น
การวิจัยเป็นเครื่องมือในการศึกษา 3 ลักษณะคือ
1. วิจัยเพื่อรู้เท่าทันความรู้ เข้าถึง ใฝ่รู้ ประเมินได้ วิจารณญาณได้ (ปัญญา)
2. วิจัยเพื่อให้สามารถย่อยความรู้ (นายหน้าความรู้)
3. วิจัยเพื่อสร้างความรู้ (นักวิชาการ/นักวิชาชีพ)
ประเภทของความรู้
1. ความรู้ที่พิสูจน์แล้วตามหลักวิทยาศาสตร์ (Explicit Knowledge)
2. ความรู้เฉพาะกรณี (Situation – Specific Knowledge)
3. ความรู้ที่เกิดจากการกระทำ (Implicit/Tacit Knowledge)

ความรู้ที่มาจาก Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่มาจากการทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรู้เท่านั้น ถ้าจะให้ได้ความรู้ที่ดีกว่าเดิมต้องเป็นความรู้ที่เกิดจากการใช้งานการกระทำ ซึ่งเป็นความรู้เฉพาะบุคคลที่มาจากคนหลาย ๆ คน เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม และนำไปสู่ความรู้ใหม่ ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ต้องพิสูจน์ เป็นความรู้จากการสุมหัว นำไปสู่ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
ความรู้จากการกระทำ (Implicit/Tacit Knowledge /Mundane Sciences) เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่ได้รับการสั่งสมมาเป็นเวลาแรมปี เกิดเป็นความรู้ใหม่ขึ้น
กระบวนการการจัดการความรู้ (Knowledge Management) นำไปสู่ Empowerment ขององค์กรนั้น องค์กรเกิดการปรับตัวตามประสบการณ์ที่เกิดนั้นกลายเป็น Learning Organization
สังคมความรู้ ยุคที่ 2 เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล บูรณาการ (ความยั่งยืน) ประชาชนและทุกภาคส่วนมีบทบาทในการร่วมกันเป็นเจ้าของ และเป็นผู้ใช้ความรู้ให้เป็นพลัง มีความเป็นอิสระ และพึ่งตนเอง นักวิชาการ/นักวิชาชีพมีบทบาทเป็น Knowledge Broker ทำให้เกิดเป็นวิจัยแบบบูรณาการที่ผลงานวิจัยย่อย ๆ หลาย ๆงานวิจัยรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาวิจัยย่อยและปัญหาใหญ่แบบครบวงจร
วัฎจักรของความรู้ในสังคม
1. การสะสมความรู้ภายในสังคม 3. การสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในสังคม
2. การถ่ายโอนความรู้ภายสังคม 4. การประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคม

แหล่งของความรู้ในสังคม
• ห้องสมุด
–หอสมุดแห่งชาติ
–ห้องสมุดโรงเรียน
–ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
–ห้องสมุดประชาชน
–ห้องสมุดดิจิทัล
• ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
–ศูนย์สารสนเทศธนาคารแห่งประเทศไทย
–ศูนย์ข้อมูลการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
–ศูนย์ข้อมูลบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
• องค์กรเอกชนที่ให้บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์
–ศูนย์ข้อมูลมติชน จากหนังสือพิมพ์มติชน
–ฯลฯ
• บุคคล
• เหตุการณ์
• อินเทอร์เน็ต
• สถานที่

กระบวนการจัดการความรู้ในสังคม
สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลจากการวิจัยและพัฒนาทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งในการวิจัยและพัฒนาได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ และความรู้ใหม่ๆ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของมนุษย์ เป็นทรัพย์สมบัติทางปัญญา จึงทำให้เกิดการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นทรัพย์สินทางปัญญาก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น เกิดเป็นแรงงานใหม่ที่เรียกว่าแรงงานความรู้ หมายถึงว่า คนมีความรู้นำความรู้มารับงานไปทำ แทนที่จะใช้แรงกาย แต่มาใช้สติปัญญาแทน เมื่อมีบุคคลที่มีความรู้อยู่ในสังคมเพิ่มมากขึ้นจึงกลายเป็นสังคมฐานความรู้ ซึ่งเป็นที่พึงปรารถนาของนักบริหารหรือนักจัดการแผนใหม่จะต้องเผชิญกับแรงงานความรู้ คือมีบุคลากรมีความรู้มาทำงานในองค์กรมากขึ้น แล้วจะจัดการกับสังคมฐานความรู้นี้อย่างไร เนื่องจากบุคคลในสังคมมีความรู้ คนมีความรู้ย่อมหยิ่งในตนเอง มั่นใจตนเอง การจัดการไม่ใช่เรื่องง่ายนัก สังคมในอนาคตจะเป็นสังคมฐานความรู้เพิ่มมากขึ้น การจัดการกับบุคคลในสังคมจึงเป็นเรื่องสำคัญและน่าสนใจในการบริหารจัดการยุคใหม่กระบวนการจัดการความรู้ในสังคม เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในสังคม มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าสังคมมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ที่ได้จากสังคมความรู้
- ทำให้ภายในสังคมเกิดการพัฒนา ความรู้ช่วยให้สังคมมีคุณภาพที่ดีขึ้น
- ช่วยในเรื่องของการพัฒนาคนภายในสังคม ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ และยังถือได้ว่าเป็นการยกระดับสังคมได้อีกด้วย
- เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ภายในสังคม
- เพื่อพัฒนาความรู้ภายในสังคมให้เกิดความเพิ่มพูนขึ้น
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสังคม
- ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต
- เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด
- เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในสังคม และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนาสังคม
- ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
- แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับสังคม
- เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่
- เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง ไปสู่วัฒนธรรมความรู้ในแนวราบ ของทุกคนมีสิทธิในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน